พยาธิตัวตืด (Tapeworms)
พยาธิตัวตืด (Tapeworms) วงจรชีวิต
https://vcahospitals.com/know-your-pet/tapeworm-infection-in-dogs พยาธิตัวตืดในลำไส้ที่พบมากในสุนัขและแมว คือพยาธิตัวตืดเม็ดแตงกว่า (Dipylidium Caninum) พยาธิตัวเต็มวัยมีขนาดยาวได้ถึง 20 ซม. แต่ละปล้องมีความกว้างประมาณ 3-5 มล. มีปากเป็นตะขอสำหรับยึดเกาะดูดสารอาหารที่ลำไส้ พยาธิจะเพิ่มขนาดจากส่วนหัวไล่ลงไป เมื่อโตเต็มที่แล้วพยาธิจะขยายพันธ์ด้วยวิธีปลดปล้องในส่วนท้ายลำตัว ปะปนออกไปกับอุจจาระของสัตว์เลี้ยง ซึ่งปล้องเหล่านี้จะมีลักษณะสีขาวคล้ายกับเม็ดข้าว หรือเมล็ดแตงกวา เจ้าของสัตว์เลี้ยงอาจจะสังเกตุพบปล้องพยาธิเหล่านี้ได้บริเวณรอบก้อน หรือในอุจจาระของสุนัขที่เพิ่งขับถ่าย ปล้องแก่ของพยาธิเหล่านี้เต็มไปด้วยไข่พยาธิ เมื่อสภาพวดล้อมเหมาะสมไข่พยาธิจะแตกออกมา จากนั้นตัวอ่อนของหมัด (larva flea) และหนูจะกินไข่พยาธิพวกนี้เข้าไป จากนั้นก็จะเติบโตอยู่ในตัวหมัด หากสุนัขและแมวติดหมัด แล้วบังเอิญเผลอกินหมัดเข้าไปจากการเลียขนตัวเองหรือจากการคันแล้วกัดแทะตัวเอง ก็จะทำให้ติดพยาธิตัวตืดเข้าสู่ทางเดินอาหาร
https://vcahospitals.com/know-your-pet/tapeworm-infection-in-dogs อาการ อาการอาจจะรุนแรงมากขึ้นหากติดในลูกสุนัขหรือลูกแมว โดยส่วนมากจะทำให้มีอาการดังนี้
การรักษา สัตวแพทย์จะแนะนำให้สัตว์เลี้ยงได้รับยาถ่ายพยาธิ ขนาดยาตามน้ำหนักตัว โดยทั่วไปอาจจะแนะนำให้รับประทานยาถ่ายพยาธิ 3 วันติดกันหรือตามความเห็นสัตวแพทย์ และหลังจากนั้นควรได้รับการป้องกันการถ่ายพยาธิอย่างน้อยทุก 3 เดือน แต่ไม่ควรเกิน 6 เดือน การป้องกัน
|