google-site-verification=G7snYi1Iu_QoF4keh_9xHi0_IDTFhBbfUuUax3VTDjY

การป้องกันหมัด

 

                                      การป้องกันหมัด

วงจรชีวิตของหมัด

                  หมัดตัวเต็มวัย (adult) อาศัยกินเลือดอยู่บนตัวสุนัขและแมว  จากนั้นจะวางไข่บนตัวสุนัขครั้งละประมาณ 50 ฟองต่อวัน ใช้เวลาฟักตัวเป็นตัวอ่อนประมาณ 2-5 วัน ไข่จะร่วงหล่นลงสู่สิ่งแวดล้อมซ่อนตัวตามพรม เฟอร์นิเจอร์ ที่นอนสัตว์เลี้ยง หรือตามสนามหญ้าหรือกองใบไม้ต่างๆ  โดยตัวอ่อนระยะที่ 1 (Larva) จะกินเศษอุจจาระของหมัดตัวเเก่ที่ล่วงหล่นจากตัวสัตว์เลี้ยง รวมทั้งกินเศษดินต่างๆ หรือไข่พยาธิที่มีอยู่ตามสิ่งแวดล้อม หมัดจึงเป็นพาหะของการติดพยาธิทางเดินอาหารได้ จากนั้นตัวอ่อนระยะที่ 1 จะเกิดการลอกคราบเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 (Pupa) โดยใช้ระยเวลาประมาณ 5-21 วัน ขึ้นอยู่กับอาหารและความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม โดยตัวอ่อนระยะที่ 2 จะมีลักษณะคล้ายดักแด้หรือรังไหม โดยในระยะนี้จะอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมประมาณ 20-30 วันในการลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย แต่ก็สามารถคงสภาพเป็นดักแด้ได้นานเป็นปีโดยที่ไม่ต้องกินอาหาร หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการลอกคราบ หลังจากลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยแล้วก็จะรอขึ้นสู่ตัวสัตว์เลี้ยงต่อไป

                     การติดหมัดอาจจะเกิดได้ 2 ทางคือการติดจากสัตว์ตัวอื่นนอกบ้าน และติดหมัดตัวเต็มวัยจากสิ่งแวดล้อม ถ้าหากเราพบหมัดบนตัวสัตว์เลี้ยง มีโอกาสที่ในสิ่งแวดล้อมในบริเวณบ้านเราจะมีหมัดในช่วงวัยต่างๆมากกว่าที่เราคิด เพราะหมัดมีช่วงชีวิตที่เจริญเติบโตและค่อนข้างคงทนในสภาพแวดล้อม

 

อาการ

          อาการเฉพาะที่ เราอาจจะสังเกตุพบตัวหมัดเดินตัวสุนัขและแมวได้เลย หมัดจะมีขนาดเล็กแต่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถกระโดดจากสัตว์เลี้ยงตัวหนึ่งไปที่อีกตัว หรือบางครั้งจะพบขี้หมัดเป็นผงสีดำตามตัวสุนัขหรือบริเวณพื้นบ้าน หมัดจะดูดเลือดและตัวน้ำลายหมัดจะทำให้สัตว์เลี้ยงอาการแพ้ได้  เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการคันมาก สุนัขหรือแมวบางตัวจะคันจนต้องหันไปกัดแทะตัว กระวนกระวาย หรือไม่สามารถนอนหลับได้ นอกจากนั้นในบางตัวจะมีการตอบสนองมากกว่าปกติคืออาจจะเกิดภาวะการแพ้น้ำลายหมัด (Flea allergy dermatitis) มีอาการคัน ขนร่วง เป็นผื่นแดง โดยมักจะเป็นมากบริเวณช่วงท้ายลำตัวหรือช่วงหลัง

                  อาการทางระบบ หากสุนัขถูกหมัดกัด ก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลหิตจาง (anemia) ได้ โดยในสัตว์อายุน้อยหรือสัตว์ที่มีขนาดตัวเล็กอาจจะเกิดภาวะโลหิตจางได้ง่ายกว่า หรือหากติดปริมาณมากก็เกิดภาวะโลหิตจางได้เช่นกันในสัตว์เลี้ยงปกติ นอกจากนั้นถ้าสุนัขหรือแมวมีอาการคันมากจนไปกัดแทะตามตัว อาจจะกินหมัดเข้าไปโดยบังเอิญซึ่งส่งผลทำให้ติดพยาธิตัวตืดได้ (dipylidium caninum)

 

 

 

อาการแพ้ (Allergic Reaction) ภาวะโลหิตจาง (Anemia) การติดพยาธิตัวตืด (Tapeworm infection)

- มีอาการคันบ่อยและมากกว่าปกติ

- กัดแทะหรือเลียตัวมากกว่าปกติ

- อาจจะเอาหลังไปถูกกับสิ่งของ

- ขนร่วง หรือบางลง

- ผิวหนังอักเสบแดงโดยมากมักจะเป็นบริเวณหลังหรือท้ายลำตัว

**ส่วนมากสุนัขอาจจะยังคันอยู่นานหลังจากที่ไม่มีหมัดอยุ่บนตัวแล้ว

- เหนื่อยง่าย นอนมากกว่าปกติ

- น้ำหนักลด

- เหงือกซีด

- หอบเหนื่อย

 

**ส่วนมากจะเกิดภาวะโลหิตจางในกรณีที่มีการติดหมัดจำนวนมาก หรือ


- พบตัวพยาธิออกมาพร้อมกับอุจจาระหรือบนที่นอน

- ท้องเสีย

- การอุดตันของลำไส้

- น้ำหนักลด

- ปัญหาทุพโภชนาการ

- ท้องกาง พบบ่อยในลูกสุนัข

 

การรักษา

หากพบหมัดบนตัวสัตว์เลี้ยงควรปฏิบัติดังนี้

  • กำจัดหมัดบนตัวสัตว์เลี้ยงโดยใช้หวีเฉพาะ หรือหวีที่มีซี่ขนาดเล็ก

  • สำหรับสุนัขอาบน้ำด้วยแชมพูที่มีส่วนผสมของน้ำยมกำจัดเห็บหมัด หรือใช้น้ำยาเเช่ตัว แต่มีข้อห้ามใช้สำหรับลูกสัตว์และแมว

  • หากมีอาการคันหรืออาการแพ้มาก สัตวแพทย์จะพิจารณาจ่ายยาลดอาการคัน หรือยาแก้แพ้ และยาฆ่าเชื้อในกรณีที่มีการเกาจนเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังแทรกซ้อน

  • ใช้ยาหยอดห้องกันหมัดเพื่อกำจัดหมัดตัวเต็มวัยที่อยู่บนตัวสัตว์เลี้ยง

  • สัตวแพทย์จะแนะนำให้สัตว์เลี้ยงได้รับยาป้องกันพยาธิทางเดินอาหารร่วมด้วย

 


การป้องกัน 

        การป้องกันบนตัวสัตว์เลี้ยง ป้องกันเห็บด้วยรูปแบบยาหยอด หรือยากินเดือนละ 1 ครั้งเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

        การป้องกันในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากวงจรชีวิตของเห็บอยู่ในสิ่งแวดล้อมมากกว่าบนตัวสัตว์ ดังนั้นการดูแลสิ่งแวดล้อมภายในบ้านเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ สามารถทำได้ดังนี้

  • ดูดฝุ่นภายในบ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง อาจจะเพิ่มความถี่ในช่วงฤดูร้อน เนื่องจากเป็นช่วงที่เห้บจะมากกว่าปกติ

  • ทำความสะอาดที่นอนสัตว์เลี้ยง 1 - 2 สัปดาห์ครั้ง

  • ตัดหญ้าบริเวณสนามให้สั้น

  • ตรวจสอบสัตว์เลี้ยงเสมอหากมีการออกไปภายนอกบ้านมา


บทความโดย สพ.ญ. นิรชรา ชมท่าไม้ (คลินิกอายรุกรรม, คลินิกระบบประสาท โรงพยาบาลสัตว์เมืองเอก)