วัคซีนในลูกสุนัขและแมว
ประเภทของวัคซีน แบ่งตามชินดของวัคซีน สามารถแบ่งได้ดังนี้คือ 1. วัคซีนเชื้อเป็น (modified live vaccine; MLV) คือเมื่อได้รับวัคซีนจะต้องเกิดการติดเชื้อก่อนและเกิดการกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันตามมา โดยประสิทธิภาพดีกว่า และใช้เวลาเร็วกว่าในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเมื่อเปรียบเทียบกับวัคซีนชนิดเชื ้อตาย ในปัจจุบันวัคซีนที่ใช้ฉีดส่วนมากจะเป็นวัคซีนเชื้อเป็น 2. วัคซีนเชื้อตาย (killed vaccine) คือวัคซีนที่จะไม่เกิดการติดเชื้อในตัวสัตว์ แต่จะใช้สื่อนำพาเชื้อเข้าไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีโอกาสแพ้วัคซีนได้ พิจารณาให้วัคซีนในสัตว์ที่ไม่สามารถรับวัคซีนเชื้อเป็นได้เช่น สัตว์ป่า หรือสัตว์ตั้งท้อง หรือสัตว์ที่เลี้ยงรวมกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประสิทธิภาพการกระตุ้นวัคซีนจะช้ากว่า ปัจจุบันมีวัคซีนพิษสุนัขบ้าที่มีการใช้ในลักษณะวัคซีนเชื้อตาย เนื่องจากมีความปลอดภัยมากกว่า และไม่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากวัคซีน แบ่งตามความจำเป็นของการให้วัคซีน สามารถแบ่งได้ดังนี้คือ 1. วัคซีนหลัก (core vaccine) ที่ต้องให้สุนัขและแมวทุกตัว วัคซีนหลักป้องกันโรคติดเชื้อรุนแรงที่มีการแพร่ระบาดทั่วโลก วัคซีนหลักในสุนัขประกอบด้วย
วัคซีนหลักในแมวประกอบด้วย
2. วัคซีนทางเลือก (non core vaccine) ควรพิจารณาให้ตามความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค โดยขึ้น ดุลพินิจของสัตวแพทย์ พิจารณาจากสภาพแวดล้อม ภูมิคุ้มกันสัตว์ และการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ หรือสุนัขที่มีความเสี่ยงสูงที่อาศัย หรือต้องเดินทางเข้าไปใน บริเวณที่มีเห็บนําโรคสูงหรือในพื้นที่ระบาด วัคซีนทางเลือกในสุนัข เช่น
วัคซีนทางเลือกในแมว เช่น
3. วัคซีนที่ไม่แนะนำ (not recommend vaccine)
|
วัคซีนสำหรับลูกสุนัขและแมว ลูกสัตว์จะได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ หรือ Maternal Derived Antibodies (MDA) ในช่วงสัปดาห์แรกๆหลังคลอด โดยสามารถได้รับตั้งแต่ก่อนคลอดและการได้รับนมน้ำเลืองจากแม่ โดยภูมิคุุ้มกันนี้จะค่อยๆลดลงเมื่อลูกสัตว์อายุ 8-12 สัปดาห์ ซึ่ง MDA สามารถเข้าไปขัดขวางการกระตุ้นภูมิจากวัคซีนที่ทำได้ ลูกสัตว์ที่ได้รับ MDA น้อย (ไม่ได้กินนมน้ำเหลือง, แม่ไม่ได้รับการกระตุ้นวัคซีนอย่างถูกต้อง) อาจจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้และอาจจะตอบสนองต่อการให้วัคซีนได้ แต่ถ้าลูกสัตว์ได้รับ MDA มากก็จะทำให้การทำวัคซีนล้มเหลวได้ ดังนั้นการจัดโปรแกรมวัคซีนควรอยู่ในความเห็นของสัตวแพทย์ และปฏิบัติตามคำแนะนำ การที่สัตว์ได้รับวัคซีนอย่างถูกต้องและครบถ้วนจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ หรือสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ในกรณีที่มีอาการป่วย สรุปคือลูกสุนัขและแมวควรได้วัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 2 เดือน โดยหลังการได้รับวัคซีนประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ภูมิคุ้มกันจะค่อยๆถูกสร้างขึ้นเราจึงต้องทำการกระตุ้นวัคซีนซ้ำเพื่อให้ภูมิสูงพอจะป้องกันโรคได้ และเข็มสุดท้ายควรจะให้เมื่อลูกสัตว์อายุเลย 4 เดือนไปแล้ว โดยในช่วงที่ยังทำวัควีนไม่ครบตามโปรแกรมไม่ควรพาลูกสัตว์ออกไปพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และให้ลูกสัตว์ได้พบเฉพาะสัตว์เลี้ยงตัวอื่นที่สุขภาพดีและได้รับวัคซีนแล้วเท่านั้น
บทความโดย : สพ.ญ.นิรชรา ชมท่าไม้ (โรงพยาบาลสัตว์เมืองเอก |
โปรแกรมวัคซีนลูกสุนัข
อายุสุนัข |
2 เดือน |
3 เดือน |
4 เดือน |
การกระตุ้นซ้ำ |
ถ่ายพยาธิ |
/ |
/ |
/ |
ทุก3-6เดือน |
ป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ |
/ |
/ |
/ |
ทุกเดือน |
วัคซีนรวม 5 โรค |
/ |
/ |
/ |
ทุก1ปี |
วัคซีนพิษสุนัขบ้า |
- |
/ |
/ |
ทุก1ปี |
โปรแกรมวัคซีนลูกแมว
อายุแมว |
2 เดือน |
3 เดือน |
4 เดือน |
การกระตุ้นซ้ำ |
ถ่ายพยาธิ |
/ |
/ |
/ |
ทุก3-6เดือน |
ป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ |
/ |
/ |
/ |
ทุกเดือน |
วัคซีนรวมป้องกันโรคหัดและหวัดแมว |
/ |
/ |
/ |
ทุก1ปี |
วัคซีนพิษสุนัขบ้า |
- |
/ |
/ |
ทุก1ปี |
วัคซีนป้องกันโรคลิวคีเมีย |
- |
2.5เดือน |
3.5เดือน |
ทุก1ปี |