google-site-verification=G7snYi1Iu_QoF4keh_9xHi0_IDTFhBbfUuUax3VTDjY

โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวในแมว

 

 

โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวในแมว (Feline Hypertrophic Cardiomyopathy; HCM)

สาเหตุ

เป็นโรคที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ แบ่งเป็น

  1. แบบปฐมภูมิ (Primary) หรือ Idiopathic cardiomyopathy ซึ่งเป็นแบบไม่ทราบสาเหตุ ในแมวพบว่าเกิดจากพันธุกรรม มักพบในพันธุ์ Mane coon
  2. แบบทุติยภูมิ (Secondary) มีสาเหตุมาจากการทำงานของระบบอื่นที่ผิดปกติ หรือเกิดจากความผิดปกติในระบบmetabolism ของร่างกาย แล้วส่งผลให้เกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ

อาการ

  • หายใจลำบาก อาจเกิดร่วมกับอาการน้ำท่วมปอด (Pulmonary edema)
  • เบื่ออาหาร
  • อาเจียน
  • อัมพาตของช่วงล่างลำตัว เนื่องจากการอุดตันของหลอดเลือด
  • คลำไม่พบชีพจร
  • เสียงหัวใจเต้นผิดปกติ
  • เป็นลม (Syncope)

การตรวจวินิจฉัย

  • X-ray พบว่ามีการขยายใหญ่ของหัวใจ หรือมีภาวะน้ำทวมปอด
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจพบความผิดปกติของการนำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • การตรวจ Ultrasoundหัวใจ (Echocardiography)พบการขยายใหญ่ของหัวใจห้องล่างซ้าย

การรักษา

  • การให้ยาในกลุ่มB-adrenergic blocker เช่น Atenolol ในขนาด 6.25-12.5 mg/ตัว วันละ1-2ครั้ง เพื่อลด left ventricular outflow treat obstruction หรือ ให้ยาในกลุ่ม calcium antagonist เช่น Diltazem ในขนาด7.5 mg/ตัว วันละ2-3ครั้ง เพื่อช่วย ventricular diastolic relaxation
  • ยาในกลุ่ม ACE inhibitors เช่น Benazepril ในขนาด 0.25-0.5 mg/kg วันละ 2ครั้ง หรือ 0.5mg/kg วันละ 1ครั้ง ในกรณีที่เกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ จะช่วยให้ coronary blood flow ดีขึ้น
  • ในกรณีที่มีน้ำท่วมปอด ให้ Furosemide 1.1-2.2 mg/kg เข้าเส้นเลือดดำทุกๆ1-4ชม. เพื่อลดPreload แล้วปรับให้อาการหายใจลำบากดีขึ้น

บรรณานุกรม :

  • รสมาภู่สุนทรธรรมเวชศาสตร์โรคแมว 2561 หน้า 195-210
  • JONATHAN A. ABBOTT, Small animal cardiology secrets.2000,47-72.

บทความโดย : สพญ.สุจิตรา สกุลเลิศศิรนันท์  (คลินิกโรคหัวใจ โรงพยาบาลสัตว์เมืองเอก)